บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประยงค์

ลักษณะทั่วไป
  • ประยงค์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นและใบคล้ายกับต้แก้ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-6 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ใบมีลักษณะมนรี ปลายใบแหลม โคนแหลม พื้นใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายกับต้นแก้วแต่การแตกใบของประยงค์จะออกตามปลายกิ่งหนาแน่นและเป็นช่อดอกออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ



การเป็นมงคล
  • คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประยงค์ไว้ประจำบ้านจะมีความยั่งยืนความมั่นคง เพราะ ประยงค์ หรือ กระยง คือความยืนยง ความมั่นคงหรือความอยู่ยงคงกระพัน
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
  • เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นประยงค์ไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์
การปลูก
  • นิยมปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาด หลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก คนโบราณนิยมปลูกประดับบริเวณบ้าน เพื่อจะให้ดอกที่สวยงาม
การดูแลรักษา

แสง                         ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย

ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 4-5 ครั้ง/ปี
                                
การขยายพันธ์         การตอน
   
โรคและศัตรู             ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค และศัตรูเพราะ เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติได้ดี



 credit : www.maipradabonline.com

โมก

ลักษณะทั่วไป
  • โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบเป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้อนดิน มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร

การเป็นมงคล
  • คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษาดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งปวงจากภายนอกได้เช่นกัน และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมกสามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่างๆ ได้
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
  • เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์
การปลูก มี 2 วิธี
  • การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ เพื่อประดับบริเวณหน้าบ้าน
  • การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้างแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มเพราะการ   เจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา

แสง                         ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                          ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง

ปุ๋ย                          ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์         การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ

โรคและศัตรู             ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร





 credit : www.maipradabonline.com




ปีบทอง

     หรือ กาซะลองคำ  เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเชียงราย และเป็นเป็นพรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรียกว่า "กาซะลองคำ" และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรียกว่า "ปีปทอง"
     ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก บานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีม่วงแดง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก


วิธีการปลูก
  • นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกถ้าปลูกประดับบ้านเรือนหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะปีปเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่พอสมควร
การเป็นมงคล
  • คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นปีปไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มาก เพราะ ปีป คือ ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุของ ดังนั้นคนไทยโบราณเรียกภาชนะใส่ของที่มีค่าว่า ปีปเงิน ปีปทอง นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าสามารถทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะปีปมีลักษณะแข็งและโปร่ง เวลาเคาะหรือตีจะเกิดเสียงดังไปไกล
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
  • เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นปีปไว้ทางทิศตะวันตกผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณ ทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดในวันจันทร์ เพราะปีปเป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคเทวีซึ่งเป็นนางประจำวันจันทร์ในธดาของพระอินทร์นอกจากนี้ถ้าหากผู้อาศัยในบ้านเกิดในวันจันทร์ด้วยแล้วก็จะเป็นศิริมงคลมากยิ่งขึ้น
การดูแลรักษา

แสง                           ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย

ปุ๋ย                             ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง

การขยายพันธุ์           การใช้เมล็ด และการปักชำ
                                
โรคและศัตรู              ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี



 credit : www.maipradabonline.com

ทองกวาว

ลักษณะทั่วไป 
  • ทองกวาวเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางและใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 12-18 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลหรือสีเทาคล้ำ ผิวเปลือกเป็นตุ่มหรือปม การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อมีใบประกอบ 3 ใบ  ก้านใบยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ลักษณะใบกลม ปลายมน รีแหลม โคนใบมนสอบ ขนาดใบกว้าง 2 - 5 นิ้ว ยาวประมาณ 4 - 8 นิ้ว อกดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกมีขนาดใหญ่สีแดงหรือสีเหลือง ดอกเป็นช่อสั้น มีกลีบดอก 5 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝัก แบน โค้งงอเล็กน้อย ฝักยาวประมาณ 10 - 12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดขนาดเล็ก




การเป็นมงคล
  • คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
 ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
  • เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นทองกวาวไว้ทางทิศใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
การปลูก
  • นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคารควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะทองกวาวเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่พอสมควร
การดูแลรักษา
แสง                         ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง

ดิน                          ชอบดินร่วนซุย

ปุ๋ย                          ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2 : 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3- 5 ครั้ง
                                
การขยายพันธ์          การเพาะเมล็ด

โรค                           ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนต่อโรคพอสมควร




 credit : www.maipradabonline.com

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มะกอกฝรั่ง

     เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่อาจสูงถึง 10 ม.(เท่าสันจั่วหลังคาบ้านสองชั้น) ได้ อายุหลายสิบปี ขนาดผลโต  ออกดอกติดผลเป็นพวงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ปลูกได้ในทุกภาค ทุกพื้นที่และทุกฤดูกาล ออกดอกติดผลได้ตั้งแต่ต้นยังเล็ก (อายุต้น 6 เดือน ความสูง ½-1 ม.หรือรากเริ่มเจริญ) แล้วจะออกดอกติดผลเรื่อยไปตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาล ช่วงที่ต้นยังเล็กและเตี้ยเรียกว่า  มะกอกเตี้ย  ซึ่งขนาดผลจะเล็กและรสชาติยังไม่ดีนัก ต่อเมื่ออายุต้นมากขึ้นหรือต้นใหญ่ขึ้นเรียกว่า มะกอกฝรั่ง  ซึ่งขนาดผลจะโตกว่ามะกอกเตี้ยถึงเท่าตัวและรสชาติก็ดีกว่าด้วย  ช่วงที่เป็นมะกอกเตี้ยไว้ผลแต่น้อย (ช่อละ 1-2 ผล) แล้วบำรุงให้ถูกต้องเต็มที่ครบวงจรอย่างสม่ำเสมอขนาดผลและรสชาติก็จะเทียบเท่ามะกอกฝรั่งได้เช่นกัน  เจริญเติบโตดีในดินร่วนปนทราย  สภาพดินที่มีความชื้นน้อยๆจะออกดอกติดผลดี  สภาพดินเปียกชื้นแฉะ ดินเหนียวอุ้มน้ำจะเกิดอาการใบเหลืองร่วง  ไม่ออกดอกติดผลแล้วตายไปในที่สุด ต้นโตให้ผลผลิตแล้วเมื่อแตกยอดใหม่จะมีดอกออกตามมาที่ปลายยอดเสมอ ออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น  เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้
                        
ระยะปลูก
  • ระยะห่างปกติ  4 X 6 ม. หรือ 6 X 6  ม.
  • ระยะชิดพิเศษ  2 X 3 ม. หรือ 2 X 4  ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
  • ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
  • ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา(แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  • ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง
  • คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่มให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง 
วิธีการปลูก
  • ขุดหลุม ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 40 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
  • นำกิ่งพันธุ์มาปลูกโดยตั้งต้นให้ตรง
  • เอาหน้าดินหรือดินดีกลบให้แน่น
การดูแลรักษา
  • รดน้ำ ใส่ปุ๋ยคอก และฉีดน้ำหมักมูลสุกรบำรุง เดือนละ 1-2 ครั้ง และจะหยุดฉีดตอนมะกอกติดผลแล้ว ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผลร่วงได้
  • การปลูกมะกอกรวมกับผลไม้ชนิดอื่น ต้องระวังเนื่องจากรากของมะกอกมีความหนาแน่นมาก ผลไม้อื่นจะสู้ความหนาแน่นรากของมะกอกไม่ได้
  • จะต้องบำรุงดินเสริมด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และฉีดน้ำหมักบำรุง จะช่วยให้ออกผลผลิตตลอดปี
  • เทคนิคบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งให้ไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง และการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.(ซากสัตว์ฝังโคนต้น)ต่อเนื่องหลายๆปีจะช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์ดีส่งผลให้ออกดอกติดผลดกตลอดปี

**มะกอกฝรั่งจะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 2 หลังจากปลูก แต่จะให้ผลผลิตเต็มที่ในปีที่ 3 ของการปลูก**

มะกอกน้ำ

      ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8-10 เมตร เรือนยอด เป็นพุ่มกลม โปร่ง แตกกิ่งต่ำสัดส่วนของเรือนยอด 70% ของลำต้น จึงมักพบว่ามีหลายลำต้นในต้นเดียวกัน ลำต้นมีเปลือกนอกสีเทา มีลายขาวของราติดอยู่ทั่วไป เปลือกในสีแดงอ่อน ใบเดี่ยวเรียงแบบบันไดเวียนห่างๆ รูปไข่กลับ หรือขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5.5-8.5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบแคบขอบใบหยักมนตื้นๆ และห่างๆ ใบเกลี้ยงก้านใบสีแดง ยาว 1-2 เซนติเมตร เส้นแขนงใบจำนวน 7-9 คู่ ออกเรียงสลับไม่เป็นระเบียบ ปลายเส้นแขนง ดอกออกเป็นช่อดอกตามซอกใบ ยาว 4-5 เซนติเมตร มีขนสีขาวเป็นเงา กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ มีขนาดยาวกว่ากลีบดอกเล็กน้อย ขอบกลีบจักเป็นฝอย ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความยาว ไม่มีขน เกสรตัวผู้จำนวนมาก มีขนสั้นๆ รังไข่มีขนหยิกเป็นมัน ภายในมี 2-5 ช่องแต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน ผลสดรูปรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน เนื้อนุ่ม เนื้อรับประทานได้ รสเปรี้ยวๆฝาดๆ เมล็ดแข็งมีเมล็ดเดียว รูปรี ปลายแหลมทั้งสองด้าน ผิวเมล็ดขรุขระ ผลอ่อน สีเขียวนวลๆ ผลแก่สีเขียวอมเหลือง


วิธีการปลูกและดูแลรักษา 
  • ขั้นตอนการปลูก ขั้นตอนแรกทำการไถดินในพื้นที่ปลูกแล้วตากดินให้แห้ง สร้างคันล้อมบริเวณรอบๆพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วม ยกร่องแปลงปลูก ขนาดกว้าง 6 เมตรสูง 80 เซนติเมตรเว้นเป็นร่องน้ำ 1 เมตรหลังจากยกร่องแปลงปลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการขุดหลุมเพื่อปลูกมะกอกน้ำ เมื่อทำการปลูกแล้วควรรดน้ำต้นมะกอกน้ำทันที หลังจากนั้นควรลดน้ำทุก 5-7 วัน/ครั้ง โดยสังเกตที่โคนต้นอย่าให้แฉะจนเกินไป และควรมีน้ำตลอดทั้งปี
  •  ระยะปลูก ระยะระหว่างหลุม/ต้น 4x4 เมตร สามารถปลูกได้ 100 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่หรือระยะ 4x5 เมตร สามารถปลูกได้ 80 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่หลังจากที่นำต้นมะกอกน้ำมาปลูกควรใช้ไม้ปักและใช้เชือกผูกยึดเพื่อป้องกันลม
  •  การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นมะกอกน้ำมีอายุ 3 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยคอกระหว่างต้น ประมาณ 1 กระสอบปุ๋ย และปุ๋ยเคมี ใส่สูตรเสมอคือ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ปริมาณการใส่อัตรา 1 ช้อนแกงต่อ 1 ต้น ใส่ทุกๆ2 เดือน และรดน้ำตามทันที และหลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกทุก 6 เดือน
  • โรคและแมลง เพลี้ยไฟ ไรแดง หนอนกินใบ  การป้องกันกำจัดคือใช้กำมะถัน หรือสารเคมีทั่วๆไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันและทำลายในช่วงที่มีการระบาด
สรรพคุณทางยา
  • เปลือกแห้งนำมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาต้มกินเพื่อเป็นยาฟอกเลือดหลังการคลอดบุตร ส่วนผลนั้นนำมาดองหรือเชื่อม นำรับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
ประโยชน์ทางไม้ประดับ
  • มะกอกน้ำสามารถนำมาเป็นไม้ประดับได้ ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นทรงพุ่มสวยงาม ร่มรื่น มีดอกสีขาว มองดูแล้วสร้างความสดชื่นให้กับผู้ที่ปลูกได้เป็นอย่างดี
       

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทับทิม

    ทับทิมเป็นไม้พุ่มแตกกิ่งก้าน โคนต้นมีกิ่งที่เปลี่ยนไปเป็นหนามยาว แข็ง ใบ เดี่ยว แผ่นใบแคบ ขอบใบเป็นรูปขอบขนาน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน หรือใบออกสลับกัน ดอก เดี่ยว กลีบเลี้ยงหนาสีแดง จะคงทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง หรือสีเหลืองอ่อน ถ้ากลีบดอกสีแดง ผลเมื่อแก่จัดจะมีเปลือกแดงปนชมพู ปนน้ำตาลเหลือง ถ้ากลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลแก่จัดสีเหลืองปนน้ำตาล ผล กลมโต แล้วแต่พันธุ์ เปลือกนอกของผลหนาค่อนข้างเหนียว เปลือกด้านในสีเหลือง ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก อัดกันแน่นเต็มเปลือก แต่ละเมล็ดมีเนื้อสีชมพู หรือสีแดงลักษณะใส มีรสหวาน หวานอมเปรี้ยว



วิธีการปลูก
  • การปลูกทับทิม ฤดูปลูกทับทิมที่เหมาะสมที่สุดนั้นควรเป็นช่วงต้นฤดูฝนถึงกลางฤดูฝน เนื่องจากทับทิมจะได้รับความชุ่มชื้นจากธรรมชาติอย่างเต็มที่ ทำให้ลดภาระในการให้น้ำช่วงแรกลงไป การเตรียมพื้นที่ปลูก ในกรณีปลูกในพื้นที่ราบน้ำใต้ดินต่ำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มในภาคกลางใช้วิธีการปลูกแบบยกร่อง การยกร่องไม่จำเป็นต้องให้สูงมากนัก หลังร่องควรกว้างประมาณ 5 - 7 เมตร และความกว้างของร่องน้ำ 2 เมตร สามารถปลูกทับทิมได้ 2 แถว ในพื้นที่ลาดชัน ควรจัดเตรียมพื้นที่ให้เป็นขั้นบันไดเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การเตรียมหลุมปลูกและกำหนดระยะปลูก เมื่อเตรียมดินด้วยการไถพรวนทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงกำหนดระยะปลูก ทับทิมพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันทั่วไปมีระยะการปลูกแคบแต่ถ้าเป็นทับทิมพันธุ์ต่างประเทศควรกำหนดระยะปลูกให้ห่างขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ระยะที่เหมาะสมที่สุดคือ 3 x 3 เมตร จะวางแผนการปลูกแบบสลับฟันปลาหรือแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมโดยประมาณ ถ้าปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะได้ 170 ต้นต่อไร่ และเพิ่มจำนวนขึ้นเล็กน้อยถ้าปลูกแบบสลับฟันปลา หลุมปลูกทับทิมควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 ศอก ลึก 1 ศอก ขุดโดยแยกดินบนและดินล่างไว้คนละด้านนำดินบนที่ขุดลงก้นหลุมพร้อมๆกับปุ๋ยหมัก หรืออาจผสมดินบนกับหญ้า หรือหญ้าหมักก็ได้ ทิ้งไว้จนแน่ใจว่าหญ้าย่อยสลายหมดแล้วจึงค่อยปลูก ดินผสมปุ๋ยที่กลบลงในหลุมควรให้ระดับสูงขึ้นต่ำกว่าปากหลุมประมาณ 1 ฝ่ามือ ทิ้งดินผสมไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงลงมือปลูก


การดูแลรักษา
  • เมื่อต้นอ่อนควรรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยคอกพอควร อายุ 6 เดือนทับทิมจะแตกพุ่มโดยรอบ อย่าให้ร่มเงาไม้ใหญ่บัง เพราะต้นจะแคระแกรน และไม่ออกดอก ออกผลเลย ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟ และด้วงในระยะที่ต้นแตกพุ่ม ครั้นเมื่อต้นแก่ควรตัดกิ่งแก่ทิ้ง หรือปลูกแซมต้นเก่าบ้างก็ได้

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มะม่วง

เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนประมาณ 35 สปีชีส์ ในวงศ์ไม้ดอกAnacardiaceae เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และแม็กซิโก

  • มะม่วงโชคอนันต์ รูปทรงผล กลมรี ผิวผลสุกเป็นสีเหลือง น้ำหนักผล 250 – 350 กรัม/ผล เนื้อสีเหลือง มีเส้นใยมาก รสหวานหอม บริโภคสุก โดยปอกเปลือกและรับประทานเนื้อ อายุการเก็บรักษา 7 วัน ณ อุณหภูมิห้อง 14 วัน ณ อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส

  • มะม่วงเขียวเสวย เป็นพุ่มหนาทึบ ใบเป็นสีเขียวเข้ม  ผลใช้รับประทานดิบหรือสุกก็ได้ ลักษณะ  เปลือกหนาและเหนียว  มีต่อมไม่ค่อยชัด  และกระจายอยู่ทั่วผล ผลดิบ  ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม  และจะออกสีนวลเมื่อแก่  เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด  กรอบ  มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย  รสเปรี้ยว  เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน ผลสุก  ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง  ลักษณะเนื้อจะเอียด  มีเสี้ยนน้อย  และมีรสหวาน 



  • น้ำดอกไม้ เป็นพันธ์ที่นิยมปลูกกันทั่วไป  สามารถออกดอกแต่ติดผลปลานกลาง  และให้ผลทุกปีผลมีขนาดปลานกลางถึงขนาดใหญ่  ลักษณะของผลจะอ้วน หัวใหญ่ปลายแหลม  ผลค่อนข้างยาว ลักษณะเปลือกบาง  มีต่อมกระจายห่าง  ๆ ทั่วผล ผลดิบ  ผิวเปลือกจะเป็นผิวนวล  เนื้อแน่นหนาเป็นสีขาว  มีรสเปรี้ยวจัด ผลสุก  ผิวของเปลือกจะเป็นสีเหลืองนวลเนื้อเป็นสีเหลืองมีรสหวาน เมล็ด  แบนยาว

  • อกร่อง เป็นพันธุ์มะม่วงที่เก่าแก่รู้จักกันทั่วไป ใช้สำหรับรับประทานสุกกับข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก จะออกผลปีเว้นปี คือปีใดที่ให้ผลดก ปีต่อไปจะมีผลน้อย ขนาดผลค่อนข้างเล็ก ลักษณะของผลค่อนข้างแบน ตรงส่วนท้องเป็นทางยาวจนเห็นได้ชัด ผลดิบเนื้อละเอียดสีขาวนวล มีเสี้ยนน้อย รสเปรี้ยวจัดจนกระทั่งแก่ เมื่อสุกผิวของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองละเอียด รสหวานจัด เมล็ดมีลักษณะยาวแบน

วิธีปลูก

การเลือกต้นพันธุ์มะม่วง
•เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกจากสวนหรือแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้
•ต้นพันธุ์ได้จากการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ เช่น การทาบกิ่ง การเปลี่ยนยอด เป็นต้น
•ต้นมีความสูงมากกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากแข็งแรงไม่ขดหรืองอ


ระยะปลูก
•ระยะปลูกทั่วไปคือ ระยะระห่างแถว 6-8 เมตร ระหว่างต้น 6-8 เมตร
•ระบบการปลูกชิด เช่น ปลูกระยะ 4x4 เมตร ได้จำนวนต้นและผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มาก ขณะที่การลงทุนเพิ่มมากขึ้น
•มีการควบคุมทรงพุ่มและการจัดการมากยิ่งขึ้นกว่าระยะปลูกปกติ

ขั้นตอนการปลูก
•ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร กรณีพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และใช้วัสดุปรับปรุงดินเพิ่มมากขึ้น
•วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้กับหลุมขนาดปกติ ประกอบด้วยหินฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์ 5-10 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม คลุกเคล้ากับดิน นำมะม่วงออกจากถุงแล้วปลูกมะม่วงลงกลางหลุม ปักหลักยึดต้นกันการโยกคลอน แล้วใช้มีดกรีดเอาพลาสติกบริเวณรอยต่อระหว่างยอดพันธุ์กับต้นตอออก
•ในแหล่งปลูกที่มีลมแรงควรปลูกไม้บังลมเป็นแถว หรือเป็นแนวขวางทิศทางลมล่วงหน้าหรือปลูกพร้อม ๆ กับการปลูกมะม่วง เช่น สะเดา หรือไผ่ เป็นต้น

ฤดูปลูก
ต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด มะม่วงที่ปลูกจะมีการเจริญเติบโต และตั้งตัวได้ก่อนถึงฤดูแล้ง แต่ถ้าหากมีระบบการ ให้น้ำก็สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกฤดูกาล

การดูแลรักษา

การเตรียมความพร้อมต้นมะม่วง
มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต
•กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
•ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก
•ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ
•หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น
•มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่
การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก
ปลายฤดูฝนได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 2-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้มะม่วงไม่แตกใบอ่อนและ ยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป
การเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
พัฒนาการของตาดอก
มะม่วงจะพักตัวระยะหนึ่งแล้วจะเริ่มแทงช่อดอก ในระยะนี้ควรเริ่มให้น้ำปริมาณน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของช่อดอก ทำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามคำแนะนำ
การเพิ่มการติดผล
หลังจากมะม่วงเริ่มติดผลแล้วควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำขึ้น โดยในระยะ 7-10 วัน หลังการติดผล เพิ่มปริมาณการให้น้ำมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับที่มะม่วงต้องการอย่างเต็มที่
การส่งเสริมการพัฒนาของผล
•โดยการให้น้ำไปตลอด และหยุดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 10-15 วัน
•ใส่ปุ๋ย ตามพัฒนาการของผล
การป้องกันผลผลิตเสียหาย
การห่อผล ห่อเมื่อผลอายุ 45-60 วัน จะทำให้มะม่วงมีคุณภาพดี เช่น ผิวผลสวยลดการร่วงของผล ลดหรือป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงบางชนิด เป็นต้น
การให้ปุ๋ย
•กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง
•มะม่วงอายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากันในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ใส่รอบโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ
•มะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป มีการใส่ปุ๋ยเป็นระยะตามพัฒนาการหรือความต้องการดังนี้
• ระยะบำรุงต้น หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้วใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-10-10 หรือ 30-10-10 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง ร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง โดยใส่รอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ ใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อมะม่วงเริ่มแตกใบชุดที่ 2 โดยใช้สูตรปุ๋ย และอัตราเดิม
•ระยะเร่งสร้างตาดอก ก่อนมะม่วงออกดอก 2-3 เดือน ใส่ปุ๋ย 12-24-12 หรือ 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโล กรัมต่อต้น สำหรับต้นอายุ 2-4 ปี อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อต้น สำหรับต้นอายุ 5-7 ปี และ 4-6 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อต้นอายุ 8 ปีขึ้นไป
•ระยะบำรุงผล หลังดอกบาน 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
•ระยะปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น และอาจพ่นปุ๋ยทางใบร่วมในระยะนี้ด้วย
หมายเหตุ : อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ใช้ตามค่าการวิเคราะห์ดินและพืช
การให้น้ำ
วิธีการให้น้ำ
•ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ
•การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก
ปริมาณน้ำ
•มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร) ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)
•มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)
ความถี่ของการให้น้ำ
ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5 วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง
การงดให้น้ำ
ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอกจะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้ว
จึงจะเริ่มให้น้ำอีก
การตัดแต่งกิ่ง
การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง
•เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร
•ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ
•ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่
วิธีการตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา
•เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ
•ตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก
การตัดแต่งแบบปานกลาง
•เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร
•มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง - ใบใหม่มาทดแทน
•คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก
•เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม
•สร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่ โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง
•กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ ทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง
•เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง
•ผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก
หมายเหตุ :
หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่ปุ๋ยและให้น้ำ เพื่อเร่งการ ผลิตสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้งที่มีกิ่ง - ใบอ่อน ผลิมาใหม
โรคและการป้องกันกำจัด
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ใบอ่อนไหม้บิดเบี้ยว ใบเป็นจุดสีน้ำตาลขอบสีเข้ม ขนาดแผลไม่แน่นอน ถ้าเป็นในระยะ ต้นกล้า จะเป็นจุดแผลสีน้ำตาล - ดำบนลำต้นหรือกิ่งอ่อน แผลจะมีลักษณะแข็งยุบตัวลงเล็กน้อย ถ้าเป็น กับดอก ก้านช่อดอก จะเป็นจุดแผลสีแดงหรือน้ำตาลแดง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มแล้วกลายเป็นสีดำ ส่วนผล เป็นจุดแผลสีดำรูปร่างไม่แน่นอน แผลแข็งยุบตัวลงเล็กน้อย แผลบนผลสุกจะมีสีดำคล้ำลุกลาม อย่างรวดเร็ว บริเวณกลางแผลอาจจะพบลักษณะเมือกสีน้ำตาลปนแดงขึ้นเป็นวง
การแพร่ระบาด
เชื้อแพร่ระบาดได้ด้วยลม เชื้อราสามารถเจริญเติบโต และเข้าทำลายส่วนอ่อนของพืช ทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกชุกหรือมีสภาพความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
•ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อควบคุมทรงพุ่ม ลดความชื้น ให้แสงแดดส่องถึงในทรงพุ่มและอากาศ ถ่ายเทได้สะดวก
•กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น เก็บใบ และกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย
โรคราแป้ง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ เชื้อจะเข้าทำลายที่ใบอ่อน โดยผิวด้านบนจะเป็นจุดแผลช้ำ รูปร่างและขนาดแผลไม่แน่นนอน มีสีผิดไปจากสีของเนื้อใบปกติเล็กน้อย ต่อมาจุดแผลจะค่อยเปลี่ยนเป็น สีเหลืองน้ำตาล และน้ำตาลไหม้ในที่สุด ซึ่งเป็นระยะที่ใบเริ่มแก่ ในบริเวณแผลจะพบผงสีขาวขึ้นฟูส่วนใหญ่ที่ผิวใบด้านล่าง ถ้าเกิดที่ก้านช่อดอกและดอก จะเห็นเป็นผงสีขาวปกคลุมดอกและช่อดอก ซึ่งต่อมาจะทำให้ดอกหลุดร่วงและเป็นแผลช้ำที่ก้านช่อดอก
การแพร่ระบาด ในแหล่งปลูกมะม่วงทั่วไป มักพบทำลายช่อดอกในฤดูหนาวประมาณเดือน ธันวาคม - มกราคม
การป้องกันกำจัด
ในช่วงมะม่วงออกดอก โดยเฉพาะในฤดูที่มีอากาศหนาวเย็นหากพบอาการของโรค ควรทำ การควบคุมโดยฉีดพ่นสารเคมี เช่น เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม เป็นต้น
โรคราดำ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ คราบสีดำขึ้นปกคลุมผิวใบ หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น กิ่งอ่อน ช่อดอก ดอกและผลซึ่งพบบริเวณ ขั้วผล เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อของพืชโดยตรง แต่การเจริญของราดำบนใบจะไปบดบังการได้รับ แสงของผิวใบ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วงเป็นอุปสรรคต่อการผสมเกสรของดอก ทำให้มะม่วงไม่ติดผล นอกจากนั้นคราบดำที่เกาะติดทำให้ผิวผลไม่สวย ซึ่งทำให้คุณภาพและราคาผลผลิตตกต่ำลงเป็นอย่างมากด้วย
การแพร่ระบาด
สาเหตุเริ่มจากการระบาดเข้าทำลายพืชของแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย หรือเพลี้ย แป้ง ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วถ่ายมูลออกมาเป็นสารคล้ายน้ำหวานโปรยลงมาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่ด้าน ล่าง เป็นผลให้เชื้อราดำหลายชนิดที่มีอยู่ในอากาศสามารถเจริญเติบโตได้

การป้องกันกำจัด
•ป้องกันกำจัดเพลี้ยไม่ให้แพร่ระบาด โดยเฉพาะในช่วงมะม่วงแตกใบอ่อน และแทงช่อดอก โดยหมั่น ตรวจแปลงมะม่วง ถ้าพบร่องรอยของแมลง ควรควบคุมโดยพ่นสารเคมี
•หลังการป้องกันกำจัดแมลงแล้ว หากพบว่ามีคราบน้ำหวานเคลือบอยู่บนใบหรือส่วนของพืช ทำการพ่น น้ำชะล้างหรือละลายคราบน้ำหวานเหล่านั้น เพื่อไม่ให้ราดำเจริญเติบโต

เงาะ

          เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 – 30° C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 – 85 % ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 – 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 – 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ อกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น
  • เงาะโรงเรียน เป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม และมีปลูกกันมากอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมีชื่อเสียงเป็นที่ นิยมของผู้บริโภคก็คือ อำเภอบ้านนาสาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของชื่อเงาะโรงเรียน


  • เงาะสีชมพู เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่ง เป็นเงาะพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจากเงาะบางยี่ขันว่า เงาะพันธุ์หมาจู เนื่องจากว่าเงาะพันธุ์นี้มีขนยาวสวยงามคล้ายหมาจู ซึ่งเงาะพันธุ์หมาจูนี่มีลักษณะแตกต่างไปจากเงาะบางยี่ขันก็คือ เงาะบางยี่ขันเนื้อไม่ร่อน และผลมีสีส้ม ส่วนเงาะพันธุ์หมาจู เนื้อหวาน ร่อน กรอบ และมีผลเป็นสีชมพูเข้ม แลดูสวยงามโดยเฉพาะยามที่ขึ้นดกเต็มต้น จากนั้นมาเงาะพันธุ์หมาจูปลูก ก็ได้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้นแพร่หลายไปทั่วจังหวัดจันทบุรี พร้อมกันนี้ชาวสวนก็ได้เรียกชื่อเงาะพันธุ์นี้เสียใหม่ตามลักษณะสีสันของผล เงาะว่า “เงาะพันธุ์สีชมพู” หรือ “เงาะสีชมพู” หรือ “เงาะสี” ในภาษาชาวบ้าน
  • เงาะสีทอง เป็นพันธุ์ดังเดิม มีปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด ลักษณะเด่นคือผลใหญ่มาก ขนยาวสีแดง ปลายมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกมีสีแดงเข้ม เนื้อมีสีขาวค่อนข้างใส เมล็ดค่อนข้างแบนสีขาวปนน้ำตาล เมื่อเก็บจากต้นใหม่ ๆ จะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าทิ้งไว้ 1-2 คืน จะมีรสหวานแหลมขึ้นและมีกลิ่นหอม


  • พันธุ์น้ำตาลกรวด เป็นเงาะพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์บางยี่ขันและพันธุ์โรงเรียน ผลมีลักษณะคล้ายเงาะโรงเรียนเมื่อเริ่มสุกผลจะมีสีเหลืองเข้ม โคนขนสีชมพุและส่วนปลายขนมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อสุกเต็มที่ดคนขนจะขยายห่างกัน เปลือกผลค่อนข้างหนา เนื้อสีขาวขุ่น เมื่อห่ามมีรสเปรี้ยวอมฝาด แต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวานแหลม กลิ่นหอม เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด และมีเปลือกเมล็ดติดเนื้อค่อนข้างมาก เมล็ดแบนค่อนข้างกว้างและสั้นมีสีขาวอมเหลืองคล้ายงาช้าง

วิธีการปลูก

  • ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม (ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก
  • จำนวนการปลูกประมาณ 25 - 40 ต้นต่อไร ในระยะปลูก 6 – 8 X 6 – 8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิดไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น ปลูกในเดือนเมษายน  
  • ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ½ ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต
การดูแลรักษา 

  • ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ½ ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขนุน

    ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนา ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ผลเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
  • ขนุนพันธุ์ศรีบรรจง  การติดผล ขนุนพันธุ์นี้เป็นขนุนพันธุ์หนัก นับตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลแก่กินเวลาประมาณ 140-145 วัน หลังจากผลสุกแล้ว ถ้ายังไม่ผ่าออกจะเก็บไว้ได้อีก 2-3 วัน โดยที่ีเนื้อยังแข็งไม่เละ ลักษณะผล ทรงผลกลมรี ผลขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อผล ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม หนามมีขนาดใหญ่และเรียบ เปลือกหนาปานกลาง เนื้อยวง มีรูปร่างกลมรีและหนา สีเหลืองทอง เนื้อแข็งกรอบ รสหวานจัด ซัง มีน้อย เล็ก และแคบ เมล็ด กลมเล็ก



  • ขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ การติดผล เป็นขนุนพันธุ์เบา สามารถออกดอกติดผลได้เมื่ออายุ 2 ปี หลังการปลูก ให้ผลผลิตทะวายได้ ขนุนเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ลักษณะผล ทรงกลม น้ำหนักผลเฉลี่ย 10-15 กิโลกรัมต่อผล ผิวสวย เนื้อยวง มีสีเหลืองทอง เนื้อหนา รสชาติหวาน กรอบอร่อย มีเนื้อ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ซัง น้อย


  • ขนุนทวายปีเดียว(ทองทวีโชค) ปลูกแค่ปีเดียว ออกลูก และจะออกต่อไปตลอดปี ลูกดก เนื้อหนา กรอบ สีจำปา รสชาด หวาน หอม

  วิธีการปลูกขนุน


  •  ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปีแล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรีย์วัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยูในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน



  • การปลูกทั้งแบบยกร่องและแบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถวเป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8x10 เมตร หรือ lOx l2 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็กกว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้ ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมีพวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตรก็พอ ส่วนที่ดินไม่ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขี้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปากหลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก



  • การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื้อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว
        1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
        2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี
       3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการหารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน


    การดูแลรักษา



  • สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้น ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไป ต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้งแล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้ง อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต เมื่อขนุนโตขนาดให้ผลแล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะ หนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมี คุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำ เสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง



  • การกำจัดวัชพืชต้องกระทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืช ต่าง ๆ จะคอยแย่ง อาหารจากต้นขนุน และการปล่อยให้สวนรกรุงรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายขนุนอีกด้วย การปราบวัชพืชทำได้โดยการถางหรือใช้ ยาปราบวัชพืช หรือโดยการปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีที่ควรปฎิบัติอย่างหนึ่ง เพราะพืช คลุมดินนอกจากจะป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของ ดิน ทำให้ดินไม่แห้งเร็ว ไม่ต้องให้น้ำบ่อย ๆ ช่วยให้ดินร่วนชุย และใบที่ร่วงหล่นจะ ผุพังเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยป้องกันการชะล้างของดินอัน เนื่องจากฝนตก โดยเฉพาะการปลูกตามที่ลาดเอียง พืชคลุมดินที่ควรใช้ปลูกคือพวก ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขี้นไปบนต้น ขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอย ถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนาน ๆ ก็ไถกลบ ดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว



  • ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควรปฎิบัติ ปุ๋ยที่ใช้แบ่งเป็นสองพวกคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ ผุพัง และอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการปลูกพืชพวกถั่วแล้วไถกลบลงไปใน ดิน ปุ๋ยพวกนี้แม้จะไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากนักแต่ก็มีประโยธน์ต่อพืชที่ปลูก หลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่พืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุ อาหารในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แก่ต้นขนุนบ้างจะทำให้การเจริญเติบโตดี ให้ผลดก และคุณภาพของ ผลดี การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาอยู่บ้าง การใช้อาจใช้ตั้งแต่ระยะ ที่ต้นยังเล็กอยู่เป็นการเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมชัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นโตเร็ว เมื่อนำ ต้นปลูกลงแปลงในสวน ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมจะช่วยให้ ต้นเจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่พวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในรางดินและเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ลงไปด้วย จะได้ผลดียิ่งขี้น ปุ๋ยที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- l6-16 เป็นหลัก เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอก จากที่ ๆ ดินขาดธาตุอาหารมาก ๆ จึงควรปรับปรุงด้วยการเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย













  • ทุเรียน

         ทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง สูง 25-50 เมตรขึ้นกับชนิด แตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้งกระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป เปลือกชั้นนอกของลำต้นสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด ไม่มียาง ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายทั่วกิ่ง เกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้ามระนาบเดียวกัน ก้านใบกลมยาว 2–4 ซม. แผ่นใบรูปไข่แกมขอบขนานปลายใบใบเรียวแหลม ยาว 10-18 ซม. ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบมีสีน้ำตาลเส้นใบด้านล่างนูนเด่น ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกช่อ มี 3-30 ช่อบนกิ่งเดียวกัน เกิดตามลำต้น และกิ่งก้านยาว 1–2 ซม. ลักษณะดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและมีกลีบดอก 5 กลี (บางครั้งอาจมี 4 หรือ 6 กลีบ) มีสีขาวหอม ลักษณะดอกคล้ายระฆัง มีช่วงเวลาออกดอก 1-2 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาออกดอกขึ้นกับชนิด สายพันธุ์ และสถานที่ปลูกเลี้ยง โดยทั่วไปทุเรียนจะให้ผลเมื่อมีอายุ 4-5 ปี โดยจะออกตามกิ่งและสุกหลังจากผสมเกสรไปแล้ว 3 เดือน ผลเป็นผลสดชนิดผลเดี่ยว อาจยาวมากกว่า 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวกว่า 15 ซม. มีน้ำหนัก 1-3 กก. เป็นรูปรีถึงกลม เปลือกทุเรียนมีหนามแหลมเมื่อแก่ผลมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลอ่อน แตกตามแต่ละส่วนของผลเรียกเป็นพู เนื้อในมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงแดง ขึ้นกับชนิด เนื้อในจะนิ่ม กึ่งอ่อนกึ่งแข็ง มีรสหวาน เมล็ดมีเยื่อหุ้ม กลมรี เปลือกหุ้มสีน้ำตาลผิวเรียบ เนื้อในเมล็ดสีขาว รสชาติฝาด


  • พันธุ์หมอนทอง  ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างยาวมีบ่าผล ปลายผลแหลม พูมักไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กวางแซมอยู่ทั่วไป ซึ่งเรียกหนามชนิดนี้ว่า เขี้ยวงู ก้านผลใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่



  • พันธุ์ก้านยาว ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอทั้งผล ก้านผลใหญ่และยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อละเอียดสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่

  •   


    การปลูกทุเรียน
  • การขุดหลุมปลูก ขุดหลุมเพียงพอปลูก ประมาณ 30x30 เซนติเมตรก็พอ ไม่ต้องขุดกว้างมากๆอย่างตำราเก่าๆ ที่ต้องขุด กว้าง 1เมตร ลึก 1 เมตร ดินคือสิ่งรองรับชีวิตพืช การสร้างรากเป็นความสามารถของพืช

  • คลุกเคล้าดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่เย็นแล้ว ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมหรือคลุกเคล้าดินปลูกเพราะเรากะปริมาณได้ไม่พอดี 

  • ปลูกให้คอต้นเสมอดิน ทุเรียนที่แกะถุงเพาะชำออกแล้ว วางให้ดินปากถุงเสมอกับพื้นดินปลูก การฝังลึกเกินไปรากหายใจไม่ได้ ขาดออกซิเจนตาย

  • ใช้หญ้าคลุมโคนต้น หรือวัสดุอื่น ที่ไม่หมักเน่าเปื่อย เพื่อปกป้องความชื้น ไม่คลุมให้หนาเกินไป เพราะจะเป็นที่เพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้

  • ไม่ต้องทำหลังคาคลุมต้นทุเรียน ทุเรียนต้องการแสงมาก 100 % คลุมหลังคาทุเรียนโตช้า อ่อนแอ  
    การดูแลรักษา

  •  ทุเรียนต้องการน้ำสม่ำเสมอ ในการยืนต้นและให้ผ ลผลิต น้ำจึงจำเป็นมากในการปลูกทุเรียนเพื่อการค้า   แต่กรณีการปลูกแบบได้ก็เอาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร น้ำก็ไม่จำเป็นแต่ทุเรียนอาจจะตายได้หากแล้งจัดเกิน 1 เดือน