บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มะม่วง

เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนประมาณ 35 สปีชีส์ ในวงศ์ไม้ดอกAnacardiaceae เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และแม็กซิโก

  • มะม่วงโชคอนันต์ รูปทรงผล กลมรี ผิวผลสุกเป็นสีเหลือง น้ำหนักผล 250 – 350 กรัม/ผล เนื้อสีเหลือง มีเส้นใยมาก รสหวานหอม บริโภคสุก โดยปอกเปลือกและรับประทานเนื้อ อายุการเก็บรักษา 7 วัน ณ อุณหภูมิห้อง 14 วัน ณ อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส

  • มะม่วงเขียวเสวย เป็นพุ่มหนาทึบ ใบเป็นสีเขียวเข้ม  ผลใช้รับประทานดิบหรือสุกก็ได้ ลักษณะ  เปลือกหนาและเหนียว  มีต่อมไม่ค่อยชัด  และกระจายอยู่ทั่วผล ผลดิบ  ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม  และจะออกสีนวลเมื่อแก่  เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด  กรอบ  มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย  รสเปรี้ยว  เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน ผลสุก  ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง  ลักษณะเนื้อจะเอียด  มีเสี้ยนน้อย  และมีรสหวาน 



  • น้ำดอกไม้ เป็นพันธ์ที่นิยมปลูกกันทั่วไป  สามารถออกดอกแต่ติดผลปลานกลาง  และให้ผลทุกปีผลมีขนาดปลานกลางถึงขนาดใหญ่  ลักษณะของผลจะอ้วน หัวใหญ่ปลายแหลม  ผลค่อนข้างยาว ลักษณะเปลือกบาง  มีต่อมกระจายห่าง  ๆ ทั่วผล ผลดิบ  ผิวเปลือกจะเป็นผิวนวล  เนื้อแน่นหนาเป็นสีขาว  มีรสเปรี้ยวจัด ผลสุก  ผิวของเปลือกจะเป็นสีเหลืองนวลเนื้อเป็นสีเหลืองมีรสหวาน เมล็ด  แบนยาว

  • อกร่อง เป็นพันธุ์มะม่วงที่เก่าแก่รู้จักกันทั่วไป ใช้สำหรับรับประทานสุกกับข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก จะออกผลปีเว้นปี คือปีใดที่ให้ผลดก ปีต่อไปจะมีผลน้อย ขนาดผลค่อนข้างเล็ก ลักษณะของผลค่อนข้างแบน ตรงส่วนท้องเป็นทางยาวจนเห็นได้ชัด ผลดิบเนื้อละเอียดสีขาวนวล มีเสี้ยนน้อย รสเปรี้ยวจัดจนกระทั่งแก่ เมื่อสุกผิวของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองละเอียด รสหวานจัด เมล็ดมีลักษณะยาวแบน

วิธีปลูก

การเลือกต้นพันธุ์มะม่วง
•เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกจากสวนหรือแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้
•ต้นพันธุ์ได้จากการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ เช่น การทาบกิ่ง การเปลี่ยนยอด เป็นต้น
•ต้นมีความสูงมากกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากแข็งแรงไม่ขดหรืองอ


ระยะปลูก
•ระยะปลูกทั่วไปคือ ระยะระห่างแถว 6-8 เมตร ระหว่างต้น 6-8 เมตร
•ระบบการปลูกชิด เช่น ปลูกระยะ 4x4 เมตร ได้จำนวนต้นและผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มาก ขณะที่การลงทุนเพิ่มมากขึ้น
•มีการควบคุมทรงพุ่มและการจัดการมากยิ่งขึ้นกว่าระยะปลูกปกติ

ขั้นตอนการปลูก
•ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร กรณีพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และใช้วัสดุปรับปรุงดินเพิ่มมากขึ้น
•วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้กับหลุมขนาดปกติ ประกอบด้วยหินฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์ 5-10 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม คลุกเคล้ากับดิน นำมะม่วงออกจากถุงแล้วปลูกมะม่วงลงกลางหลุม ปักหลักยึดต้นกันการโยกคลอน แล้วใช้มีดกรีดเอาพลาสติกบริเวณรอยต่อระหว่างยอดพันธุ์กับต้นตอออก
•ในแหล่งปลูกที่มีลมแรงควรปลูกไม้บังลมเป็นแถว หรือเป็นแนวขวางทิศทางลมล่วงหน้าหรือปลูกพร้อม ๆ กับการปลูกมะม่วง เช่น สะเดา หรือไผ่ เป็นต้น

ฤดูปลูก
ต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด มะม่วงที่ปลูกจะมีการเจริญเติบโต และตั้งตัวได้ก่อนถึงฤดูแล้ง แต่ถ้าหากมีระบบการ ให้น้ำก็สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกฤดูกาล

การดูแลรักษา

การเตรียมความพร้อมต้นมะม่วง
มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต
•กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
•ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก
•ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ
•หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น
•มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่
การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก
ปลายฤดูฝนได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 2-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้มะม่วงไม่แตกใบอ่อนและ ยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป
การเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
พัฒนาการของตาดอก
มะม่วงจะพักตัวระยะหนึ่งแล้วจะเริ่มแทงช่อดอก ในระยะนี้ควรเริ่มให้น้ำปริมาณน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของช่อดอก ทำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามคำแนะนำ
การเพิ่มการติดผล
หลังจากมะม่วงเริ่มติดผลแล้วควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำขึ้น โดยในระยะ 7-10 วัน หลังการติดผล เพิ่มปริมาณการให้น้ำมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับที่มะม่วงต้องการอย่างเต็มที่
การส่งเสริมการพัฒนาของผล
•โดยการให้น้ำไปตลอด และหยุดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 10-15 วัน
•ใส่ปุ๋ย ตามพัฒนาการของผล
การป้องกันผลผลิตเสียหาย
การห่อผล ห่อเมื่อผลอายุ 45-60 วัน จะทำให้มะม่วงมีคุณภาพดี เช่น ผิวผลสวยลดการร่วงของผล ลดหรือป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงบางชนิด เป็นต้น
การให้ปุ๋ย
•กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง
•มะม่วงอายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากันในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ใส่รอบโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ
•มะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป มีการใส่ปุ๋ยเป็นระยะตามพัฒนาการหรือความต้องการดังนี้
• ระยะบำรุงต้น หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้วใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-10-10 หรือ 30-10-10 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง ร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง โดยใส่รอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ ใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อมะม่วงเริ่มแตกใบชุดที่ 2 โดยใช้สูตรปุ๋ย และอัตราเดิม
•ระยะเร่งสร้างตาดอก ก่อนมะม่วงออกดอก 2-3 เดือน ใส่ปุ๋ย 12-24-12 หรือ 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโล กรัมต่อต้น สำหรับต้นอายุ 2-4 ปี อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อต้น สำหรับต้นอายุ 5-7 ปี และ 4-6 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อต้นอายุ 8 ปีขึ้นไป
•ระยะบำรุงผล หลังดอกบาน 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
•ระยะปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น และอาจพ่นปุ๋ยทางใบร่วมในระยะนี้ด้วย
หมายเหตุ : อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ใช้ตามค่าการวิเคราะห์ดินและพืช
การให้น้ำ
วิธีการให้น้ำ
•ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ
•การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก
ปริมาณน้ำ
•มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร) ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)
•มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)
ความถี่ของการให้น้ำ
ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5 วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง
การงดให้น้ำ
ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอกจะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้ว
จึงจะเริ่มให้น้ำอีก
การตัดแต่งกิ่ง
การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง
•เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร
•ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ
•ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่
วิธีการตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา
•เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ
•ตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก
การตัดแต่งแบบปานกลาง
•เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร
•มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง - ใบใหม่มาทดแทน
•คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก
•เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม
•สร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่ โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง
•กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ ทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง
•เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง
•ผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก
หมายเหตุ :
หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่ปุ๋ยและให้น้ำ เพื่อเร่งการ ผลิตสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้งที่มีกิ่ง - ใบอ่อน ผลิมาใหม
โรคและการป้องกันกำจัด
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ใบอ่อนไหม้บิดเบี้ยว ใบเป็นจุดสีน้ำตาลขอบสีเข้ม ขนาดแผลไม่แน่นอน ถ้าเป็นในระยะ ต้นกล้า จะเป็นจุดแผลสีน้ำตาล - ดำบนลำต้นหรือกิ่งอ่อน แผลจะมีลักษณะแข็งยุบตัวลงเล็กน้อย ถ้าเป็น กับดอก ก้านช่อดอก จะเป็นจุดแผลสีแดงหรือน้ำตาลแดง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มแล้วกลายเป็นสีดำ ส่วนผล เป็นจุดแผลสีดำรูปร่างไม่แน่นอน แผลแข็งยุบตัวลงเล็กน้อย แผลบนผลสุกจะมีสีดำคล้ำลุกลาม อย่างรวดเร็ว บริเวณกลางแผลอาจจะพบลักษณะเมือกสีน้ำตาลปนแดงขึ้นเป็นวง
การแพร่ระบาด
เชื้อแพร่ระบาดได้ด้วยลม เชื้อราสามารถเจริญเติบโต และเข้าทำลายส่วนอ่อนของพืช ทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกชุกหรือมีสภาพความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
•ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อควบคุมทรงพุ่ม ลดความชื้น ให้แสงแดดส่องถึงในทรงพุ่มและอากาศ ถ่ายเทได้สะดวก
•กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น เก็บใบ และกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย
โรคราแป้ง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ เชื้อจะเข้าทำลายที่ใบอ่อน โดยผิวด้านบนจะเป็นจุดแผลช้ำ รูปร่างและขนาดแผลไม่แน่นนอน มีสีผิดไปจากสีของเนื้อใบปกติเล็กน้อย ต่อมาจุดแผลจะค่อยเปลี่ยนเป็น สีเหลืองน้ำตาล และน้ำตาลไหม้ในที่สุด ซึ่งเป็นระยะที่ใบเริ่มแก่ ในบริเวณแผลจะพบผงสีขาวขึ้นฟูส่วนใหญ่ที่ผิวใบด้านล่าง ถ้าเกิดที่ก้านช่อดอกและดอก จะเห็นเป็นผงสีขาวปกคลุมดอกและช่อดอก ซึ่งต่อมาจะทำให้ดอกหลุดร่วงและเป็นแผลช้ำที่ก้านช่อดอก
การแพร่ระบาด ในแหล่งปลูกมะม่วงทั่วไป มักพบทำลายช่อดอกในฤดูหนาวประมาณเดือน ธันวาคม - มกราคม
การป้องกันกำจัด
ในช่วงมะม่วงออกดอก โดยเฉพาะในฤดูที่มีอากาศหนาวเย็นหากพบอาการของโรค ควรทำ การควบคุมโดยฉีดพ่นสารเคมี เช่น เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม เป็นต้น
โรคราดำ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ คราบสีดำขึ้นปกคลุมผิวใบ หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น กิ่งอ่อน ช่อดอก ดอกและผลซึ่งพบบริเวณ ขั้วผล เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อของพืชโดยตรง แต่การเจริญของราดำบนใบจะไปบดบังการได้รับ แสงของผิวใบ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วงเป็นอุปสรรคต่อการผสมเกสรของดอก ทำให้มะม่วงไม่ติดผล นอกจากนั้นคราบดำที่เกาะติดทำให้ผิวผลไม่สวย ซึ่งทำให้คุณภาพและราคาผลผลิตตกต่ำลงเป็นอย่างมากด้วย
การแพร่ระบาด
สาเหตุเริ่มจากการระบาดเข้าทำลายพืชของแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย หรือเพลี้ย แป้ง ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วถ่ายมูลออกมาเป็นสารคล้ายน้ำหวานโปรยลงมาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่ด้าน ล่าง เป็นผลให้เชื้อราดำหลายชนิดที่มีอยู่ในอากาศสามารถเจริญเติบโตได้

การป้องกันกำจัด
•ป้องกันกำจัดเพลี้ยไม่ให้แพร่ระบาด โดยเฉพาะในช่วงมะม่วงแตกใบอ่อน และแทงช่อดอก โดยหมั่น ตรวจแปลงมะม่วง ถ้าพบร่องรอยของแมลง ควรควบคุมโดยพ่นสารเคมี
•หลังการป้องกันกำจัดแมลงแล้ว หากพบว่ามีคราบน้ำหวานเคลือบอยู่บนใบหรือส่วนของพืช ทำการพ่น น้ำชะล้างหรือละลายคราบน้ำหวานเหล่านั้น เพื่อไม่ให้ราดำเจริญเติบโต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น